วันอาทิตย์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2552

การโคลนนิ่งในประเทศไทย

การโคลนนิ่งในประเทศไทย
ในประเทศไทยการพัฒนาของพันธุ์สัตว์เรื่องการผสมเทียม การย้ายฝากตัวอ่อน การผลิตตัวอ่อนในหลอดแก้วสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นพื้นฐานของการโคลนนิ่ง โครงการวิจัยมีความคิดที่จะโคลนนิ่งสัตว์เศรษฐกิจ
แต่ปัญหาและอุปสรรคของเราคือ นักวิชาการและ นักวิจัยซึ่งมีประสบการณ์ทางด้านนี้มีน้อยกว่าต่างประเทศมาก ทำให้การวิจัยและพัฒนาทำได้ช้า
แต่อย่างไรก็ตามประเทศไทยก็ สามารถทำโคลนนิ่งได้สำเร็จโดย ศาสตราจารย์มณีวรรณ กมลพัฒนะ ผู้อำนวยการโครงการ ใช้นิวเคลียร์เทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมกิจการผสมเทียม โคนม และกระบือปลัก
คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ได้เป็นคนแรกที่นำการใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์มาผสมเทียมในกระบือและพัฒนาต่อเนื่องมากว่า 20ปีจนประสบความสำเร็จในการ โคลนนิ่งลูกโคตัวแรกของประเทศไทย ชื่อว่า “อิง” ซึ่งถือเป็นลูกโคโคลนนิ่งตัวแรกของประเทศไทยและเอเชียอาคเนย์ รายที่ 3 ของเอเชีย และรายที่ 6 ของโลก โดยทำโคลนนิ่งต่อจาก ญี่ปุ่น อเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมัน และเกาหลี
ศาสตราจารย์มณีวรรณ กมลพัฒนะ ได้นำเซลล์ใบหูของ โคแบรงกัสเพศเมียมาเป็นเซลล์ต้นแบบโคลนนิ่งและนำตัวอ่อน ฝากไว้กับแม่โคออยในฟาร์มของ จ่าสิบโทสมศักดิ์ วิชัยกุล ที่จังหวัดราชบุรี ได้ “อิง” ลูกโคสีดำ ซึ่งเป็นลูกโคโคลนนิ่งตัวแรก ของประเทศไทย เกิดเมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2543

2 ความคิดเห็น:

  1. โคลนกระดูกสัตว์ที่ฝังแล้วได้ไหมครับถ้าได้ใช้งบเท่าไหร่

    ตอบลบ
  2. สัตว์ที่ตายไปแล้ว ไม่ทราบว่ากี่วัน ที่ยังสามารถโคลนนิ่งได้

    ตอบลบ