วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552


"เจ้าสนัปปี้" สุนัขโคลนนิ่งสัญชาติเกาหลีตัวแรกของโลก จะทำการผสมพันธุ์ภายในปีนี้ กับสุนัขอีกตัวที่โคลนนิ่งมาเหมือนกันคือ "เจ้าโบน่า"

ประโยชน์ของการโคลนนิ่ง

1. มีประโยชน์ในการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์และพืชหายาก และใกล้สูญพันธุ์ ให้แพร่ขยายจำนวนขึ้น ได้รวดเร็วกว่าการผสมกันตามธรรมชาติ
2. ช่วยในการทดลองทางการแพทย์ที่ต้องใช้สัตว์ทดลองเป็นจำนวนมาก
3. เป็นการผลิตสัตว์ที่เปลี่ยนแปลงพันธุกรรมเพื่อเป็นรูปแบบในการทดลองเพื่อรักษาโรคของมนุษย์
4. คู่สมรสที่ไม่มีโอกาสให้กำเนิดบุตรด้วยวิธีอื่น อาจมีโอกาสได้บุตรมากขึ้น
5. เพื่อเป็นการผลิตอวัยวะของสัตว์เพื่อการย้ายฝาก
6. ด้านการปลูกถ่ายอวัยวะ อาจได้อวัยวะที่เข้ากันได้ ลดความเสี่ยงต่อการใช้ยากดภูมิคุ้มกัน
7. ช่วยในการผลิตสัตว์ที่เปลี่ยนแปลงพันธุกรรมเพื่อผลิตเภสัชภัณฑ์และสารต่างๆด้วยเทคโนโลยีการสอดแทรกยีน
8. ทำให้นักวิทยาศาสตร์ได้เข้าใจขบวนการทำงานของยีนและการจำแนกชนิดของเซลล์เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ได้ในการแพทย์ เช่นในอนาคตเมื่อเราทราบปัจจัยที่ทำหน้าที่ ปิด หรือเปิดการทำงานของยีน จะสามารถรักษาโรคได้ เช่น ผู้ป่วยสมองตายจากอัมพาต ในอนาคตอาจสามารถกระตุ้นให้เซลล์สมองแบ่งทดแทนเซลล์ที่ตายไปได้ หรือผู้ป่วยที่ไตวาย สามารถกระตุ้นการทำงานและแบ่งตัวเซลล์ไตที่เหลืออยู่ทำหน้าที่ทดแทนได้

อ้างอิงจาก http://202.57.163.117/forum.php?exForumId=30

วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

หลักการของการโคลนนิ่ง

หลักการเบื้องต้นของการโคลนนิ่ง
•วิธีโคลนนิ่งทางวิทยาศาสตร์สามารถทำได้ 2 วิธี คือ

•1. การแยกเซลล์หรือตัดแบ่งตัวอ่อนในระยะก่อนการฝังตัว

•1.1 การแยกเซลล์ หลังปฏิสนธิตัวอ่อนระยะ 1 เซลล์จะมีการแบ่งตัวเป็นทวีคูณ จากหนึ่งเป็นสอง สองเป็นสี่ สี่เป็นแปด เรื่อยๆไป หากต้องการทำแฝดเราสามารถทำโดยการแยกเซลล์เดี่ยวๆ ออกมา เช่น หากเป็น 2 เซลล์ ก็นำมาแยกเป็น 1:1 หรือหากเป็น 4 ก็แยกเป็น 4 ส่วน 1:1:1:1 เป็นต้น อย่างไรก็ตามพบว่าการเจริญเป็นตัวอ่อนปกติหรือตัวเต็มวัยตัวอ่อนหลังแบ่งต้อง ประกอบด้วยเซลล์จำนวนหนึ่งที่เพียงพอ หากแบ่งแล้วไม่พอเพียงก็ไม่สามารถเจริญเป็นตัวอ่อนที่ปกติหรือตัวเต็มวัยได้จึงเป็น ข้อจำกัดที่สำคัญอย่างหนึ่ง

•1.2 การตัดแบ่งตัวอ่อน ตัวอ่อน ระยะมอรูล่า หรือ ระยะบลาสโตซีสสามารถแบ่งเป็น 2 ส่วนเท่าๆ กัน โดยใช้ใบมีดขนาดเล็ก ติดกับเครื่องมือพิเศษที่เรียกว่า “micromanipulator” ข้อแตกต่างของการตัดแบ่งระยะ มอรูล่าและระยะบลาสโตซีส คือ แนวการแบ่ง หากเป็นตัวอ่อนระยะมอรูล่าสามารถแบ่งในแนวใดก็ได้ให้สมดุลย์ แต่หาก เป็นตัวอ่อนระยะบลาสโตซีสต้องตัดแบ่งในแนวที่ผ่านเซลล์ภายในที่เรียกว่า อินเนอร์เซลล์แมส ทั้งนี้เพราะ ตัวอ่อนระยะนี้เซลล์ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปแล้ว แม้ว่าการโคลนสัตว์แบบการแยกเซลล์หรือการตัดแบ่งตัวอ่อน นี้มีข้อดีคือสามารถทำได้เร็ว ไม่ต้องมีขั้นตอนมากมาย แต่ก็มีข้อจำกัดคือไม่สามารถแบ่งตัวอ่อนได้มากตามจำนวนเซลล์

2. การย้ายฝากนิวเคลียส

•การย้ายฝากนิวเคลียสเป็นวิธีการที่ค่อนข้างจะซับซ้อน โดยมีรายละเอียดขั้นตอนโดยย่อคือ ก. เตรียมโอโอไซต์ตัวรับ ข. เตรียมนิวเคลียสจากตัวอ่อน ต้นแบบ ค. ดูดเอานิวเคลียสตัวอ่อนให้ใส่ไปยัง ไซโตพลาสซึ่มของโอโอไซต์ ง. เชื่อม นิวเคลียสให้ติดกับไซโตพลาสซึ่มของโอโอไซต์ จ. การเลี้ยงนำตัวอ่อน และ ฉ. การย้ายฝากตัวอ่อน

วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

kapook

กรุณาดาวว์โหลดไฟล์Kapookลงคอมพิวเตอร์ของท่าน
กรุณาดาวว์โหลดไฟล์YOUTUBEลงคอมพิวเตอร์ของท่าน

วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2552

tan

กรุณาดาวว์โหลดไฟล์Googleลงคอมพิวเตอร์ของท่าน

วันจันทร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2552

วันอาทิตย์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2552

การโคลนนิ่งในประเทศไทย

การโคลนนิ่งในประเทศไทย
ในประเทศไทยการพัฒนาของพันธุ์สัตว์เรื่องการผสมเทียม การย้ายฝากตัวอ่อน การผลิตตัวอ่อนในหลอดแก้วสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นพื้นฐานของการโคลนนิ่ง โครงการวิจัยมีความคิดที่จะโคลนนิ่งสัตว์เศรษฐกิจ
แต่ปัญหาและอุปสรรคของเราคือ นักวิชาการและ นักวิจัยซึ่งมีประสบการณ์ทางด้านนี้มีน้อยกว่าต่างประเทศมาก ทำให้การวิจัยและพัฒนาทำได้ช้า
แต่อย่างไรก็ตามประเทศไทยก็ สามารถทำโคลนนิ่งได้สำเร็จโดย ศาสตราจารย์มณีวรรณ กมลพัฒนะ ผู้อำนวยการโครงการ ใช้นิวเคลียร์เทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมกิจการผสมเทียม โคนม และกระบือปลัก
คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ได้เป็นคนแรกที่นำการใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์มาผสมเทียมในกระบือและพัฒนาต่อเนื่องมากว่า 20ปีจนประสบความสำเร็จในการ โคลนนิ่งลูกโคตัวแรกของประเทศไทย ชื่อว่า “อิง” ซึ่งถือเป็นลูกโคโคลนนิ่งตัวแรกของประเทศไทยและเอเชียอาคเนย์ รายที่ 3 ของเอเชีย และรายที่ 6 ของโลก โดยทำโคลนนิ่งต่อจาก ญี่ปุ่น อเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมัน และเกาหลี
ศาสตราจารย์มณีวรรณ กมลพัฒนะ ได้นำเซลล์ใบหูของ โคแบรงกัสเพศเมียมาเป็นเซลล์ต้นแบบโคลนนิ่งและนำตัวอ่อน ฝากไว้กับแม่โคออยในฟาร์มของ จ่าสิบโทสมศักดิ์ วิชัยกุล ที่จังหวัดราชบุรี ได้ “อิง” ลูกโคสีดำ ซึ่งเป็นลูกโคโคลนนิ่งตัวแรก ของประเทศไทย เกิดเมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2543

วันจันทร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2552

Vedio clonning

โคลนนิ่ง คืออะไร ?


ตามความหมาย โคลนนิ่ง (Cloning) หมายถึง การคัดลอก หรือทำซ้ำ (copy) นั่นเอง สำหรับทางการแพทย์ หมายถึงการสร้างสิ่งมีชีวิตใหม่ ซึ่งมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนของเดิมทุกประการ การโคลนนิ่งเกิดอยู่เสมอในธรรมชาติ ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนได้แก่ การเกิดฝาแฝดเพศเดียวกันและหน้าตาเหมือนกัน นั่นเอง กระบวนการโคลนนิ่งที่มนุษย์ทำขึ้น ได้นำมาใช้เป็นเวลานานแล้วโดยเราไม่รู้ตัว ได้แก่การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช และตัวอ่อนสัตว์ โดยการแยกเซลล์ ซึ่งทำกันทั่วไปในวงการเกษตร


แต่ข่าวที่เป็นที่น่าตื่นเต้นในวงการวิทยาศาตร์การแพทย์ไปทั่วโลก ได้แก่ การทำโคลนนิ่งแกะ ที่ชื่อว่า ดอลลี่ นับเป็นการค้นพบครั้งใหม่ของวงการทีเดียว